การเตรียมเครื่องส่งฯ สำหรับการส่งตรวจ

1. มีกำลังส่งเครื่องสูงสุดไม่เกิน 500 วัตต์ หรือ มีการปรับลดแล้วล็อคกำลังส่งไว้ไม่เกิน 500 วัตต์

2. เป็นเครื่องเดียวกันกับที่ได้ยินรูปถ่ายเครื่องส่งฯ ที่ให้ไว้กับสำนักงาน กสทช. ตอนขออนุยาตเป็นผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ห้องปฏิบัติการฯ เขาไม่สนใจว่าเป็นเครื่องเดียวกันหรือไม่ เพราะหน้าที่เขาตรวจอย่างเดียว แต่จะไปมีปัญหาตอนขออนุญาตขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน กสทช. ต้องชี้แจงเหตุผลว่าทำไมรูปถ่ายเครื่องที่ตรวจไม่ตรงกับรูปเครื่องที่ยื่นไว้

3. ตั้งค่าความถี่เดียวกับที่ได้ยื่นข้อมูลความถี่ที่ใช้ไว้กับสำนักงาน กสทช.

4. ควรให้ช่างตรวจเครื่องส่งฯใน 4 เรื่อง

4.1. การแพร่แปลกปลอม (Conducted Spurius Emission)

4.2. การแพร่นอกแถบ (Out-of-Band Emission) 4.3. ค่าผิดพลาดทางความถี่ (Frequency Error)

4.4. ค่าเบี่ยงเบนทางความถี่ (Frequency Deviation)

5. เครื่องส่งบางเครื่องฯ ประกอบด้วยเครื่องหลายชิ้น ต้องเอาตัวเครื่องส่งฯ ในส่วนหลักที่เป็น RF Power Amplifier และ Exciter Audio Limiter หรือ Audio Compressor มาให้ครบด้วย

6. สภาพตัวเครื่องส่งฯ ควรอยู่ในสภาพดี ไม่ทรุดโทรม ฝุ่นจับ ควรทำความสะอาด อาจใช้เครื่องเป่าแอร์ เป่าฝุ่นภายในตัวเครื่องก่อน เพราะหลังจากตรวจเครื่องแล้ว จะถูกปิดซีลด้วยสติ๊กเกอร์ไม่ให้แกะ เครื่องส่ง หากสติ๊กเกอร์ถูกแกะออก จะถือว่าผลการตรวจยกเลิก ต้องนำเครื่องส่งฯ ไปตรวจใหม่

7. การขนส่งเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะหากต้องเดินทางไปยังห้องปฏิบัติการทดสอบเครื่องส่งฯ ควรตีลังไม้ใส่โฟมไม่ให้เครื่องส่งฯ ได้รับแรงกระแทกไปมาขณะที่ขนส่ง ไม่เช่นนั้นเมื่อไปถึงที่หาย เครื่องส่งฯ อาจเสียใช้การไม่ได้ ต้องมาถกเถียงกับห้องปฏิบัติการฯ ไปว่าเขาทำเสีย ทั้ง ๆ ที่เหตุอาจมาจากการขนส่งได้